Learning How To Learn
เมื่อสมองคนเราเกิดมามีสมองไม่เหมือนกัน แสดงว่าเราเก่งไม่เท่ากันงั้นหรือ...
Learning How To Learn เป็นหนังสือที่สอนเราเกี่ยวกับการทำงานทำงานของสมองและการเรียนรู้อย่างถูกวิธี เมื่อเราเข้าใจสมองของตนเอง เราก็จะสามารถเรียนรู้ในแบบของเราเองได้
Chapter 1 ปัญหาเรื่องความชอบ
- เราสามารถเรียนรู้สิ่งที่ไม่ถนัดได้ ถ้าเข้าใจการเรียนรู้ที่ถูกวิธี
- คนเขียน ตอนเด็กไม่ชอบคำนวณ ปัจจุบันเป็น ดร. สอนคำนวณ
- การเรียนรู้ที่ถูกวิธีสามารถลดเวลาในการเรียนรู้ได้
- เราสามารถปรับเปลี่ยนสมองของตัวเองได้
- ควรอ่านภาพรวมของบทเรียน สเหมือนการเปิดแผนที่ของหนังสือ เพื่อเป็นการบอกสมองเป็นนัยๆ ว่าต้องเจอกับอะไรบ้าง ช่วยในการจัดระเบียบความคิด
- ดูคำตัวหนา ตัวเน้น สรุปท้ายบท
Chapter 2 ง่ายเข้าไว้
- การทำงานของสมองแบ่งเป็น 2 โหมด
- โหมดโฟกัส (Focused Mode)
- เปิดใช้งานเมื่อเพ่งสมาธิ
- หลุดง่าย แต่กลับมายาก
- ความคิดวิ่งเป็นพื้นที่แคบๆถี่ๆ
- โหมดผ่อนคลาย (Diffused Mode)
- เปิดใช้งานเมื่อผ่อนคลาย
- โหมดจินตนาการ
- ความคิดวิ่งไหลไปทั่วสมอง
- ใช้ความคิดแก้ปัญหาอยู่เบื้องหลัง
- โหมดโฟกัส (Focused Mode)
- เมื่อใช้งานโหมดโฟกัวแล้วยังแก้ปัญหาไม่ได้ ลองให้โอกาสโหมดพักผ่อนดู
- เราไม่ควรทำงานหลายสิ่งพร้อมกัน
Chapter 3 เดี๋ยวฉันจะทำ สัญญาเลย
- ทุกคนมีซอมบี้อยู่ในสมอง
- ซอมบี้คือนิสัยอัตโนมัติของเราที่ทำบางอย่างโดยไม่รู้ตัว
- เช่น เล่นโทรศัพท์ยามว่าง
- ซอมบี้มีทั้งดีและไม่ดี
- ลดซอมบี้เลว เพิ่มซอมบี้ดี
- ซอมบี้คือนิสัยอัตโนมัติของเราที่ทำบางอย่างโดยไม่รู้ตัว
- การผลัดวันประกันพรุ่ง
- เวลาต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด
- เพราะเมื่อเราทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ เปลือกสมองจะสว่าง
- แต่เมื่อทำไป 10 - 20 นาที ความเจ็บปวดจะเริ่มลดลง
- https://www.youtube.com/watch?v=OG9eq8xqW6A
- 2 ถึง 3 นาที อาจจะฟังดูน้อย แต่จะสร้างผลกระทบที่มากขึ้นเมื่อติดเป็นนิสัย
- จะทำให้ลดเวลาการเรียนรู้ลง
- ถ้าอยากผลัดวันประกันพรุ่ง ให้เปลี่ยนเป็นพักแล้วค่อยทำจะดีกว่า
- แก้ได้จาก การทำ โพโมโดโร และ เพิ่มซอมบี้ที่ดี
- เวลาต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด
- โพโมโดโร มะเขือเทศ
- ทำงาน 25 พัก 5 นาที
- ช่วยในการเพ่งสมาธิ
- สิ่งสำคัญ ต้องมีสมาธิตอนทำงาน ลดสิ่งรบกวน
- สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ รู้ว่าตอนไหนควรพัก และให้รางวัล
- เวลาสามารถเพิ่มลดได้ ตามความเชี่ยวชาญ
- ใจลอยเป็นเรื่องปกติ จดสิ่งที่ใจลอยถึง แล้วทำเมื่อพัก
- อ่านภาพรวม อ่านแบบระมัดระวัง ทบทวนทันที จะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีขึ้น
Chatpter 4 เรียนรู้เรื่องข้อต่อสมองและมาสนุกกับมนุษย์ต่างดาวกัน
- ส่วนประกอบที่สำคัญ เซลล์ประสาท ได้แก่ nucleus ⇒ ตา, dendrite spine ⇒ ขา, and axon ⇒ มือ
- เซลล์ประสาทส่งสัญญาณระหว่างกันโดยการใช้ axon ช๊อต dendrite spine ผ่านช่องแคบเล็กๆ เรียกว่า synapse และ การช๊อตนี้เองคือ กระแสความคิด
- เราสามารถเพิ่มความสามารถของเซลล์ประสาทให้ทรงพลังขึ้นได้ ผ่านการเรียนรู้
- ยิ่งเรียนรู้มากขึ้น เซลล์ประสาทจะแข็งแกร่งมากขึ้น ทำให้ส่งผ่านความคิดได้ดีขึ้น
- ยิ่งเราเรียนรู้มากขึ้น เซลล์ประสาทจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้ข้อต่อสมองแข็งแกร่งขึ้น
- ความคิด และ ข้อต่อสมอง เปรียบได้กับ หนู และ ถนน ทุกครั้งที่หนูวิ่งผ่าน ถนนก็จะแข็งแรงและกว้างขวางมากขึ้น ทำให้สามารถวิ่งผ่านง่ายขึ้นด้วย
- อุปมาอุปมัย หรือ การเปรียบเทียบ เป็นวิธีการที่ดีในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยการเปรียบ สิ่งที่ไม่รู้ กับ สิ่งที่รู้อยู่แล้ว ทำให้เราสามารถต่อยอดความรู้โดยใช้ข้อต่อสมองชุดเก่า
- คนเราชอบหาข้ออ้างสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ทั้งที่จริงแล้ววิธีเดียวที่จะเพิ่มความสามารถของสมองได้ คือการเรียนรู้เท่านั้น
Chapter 5 อีกด้านหนึ่งของโต๊ะครู
- แม้แต่คุณครูที่เก่งกาจ ก็มีเรื่องที่ไม่ถนัดเหมือนกัน
- บทนี้หลักๆจะเป็นเล่าเรื่องของอาจารย์คนหนึ่งที่ไม่ถนัดวิชาเคมี เขาจึงเริ่มเรียนวิชาเคมีกับเด็กนักเรียนของตัวเอง
- เขาค้นพบว่านักเรียนของเขาเก่งกว่าเขาในเรื่องนี้ ทำให้เขาเข้าใจว่าการเรียนรู้ใหม่นั้นยากเสมอ
- เขาเรียนรู้จนจบโดยใช้เทคนิคที่มีในหนังสือเล่มนี้จนสอบผ่าน
- โพโมโดโร
- อ่านภาพรวม ทบทวนทันที
- ออกกำลังกายบ้าง
- ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านอินเทอร์เน็ต
- ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเมื่อติดขัด
Chapter 6 เรียนขณะหลับ
- เมื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ เดนดริกสไปน์จะออกออกจากเซลล์ประสาท แต่มันจะเจริญเติบโตจริงๆ เมื่อนอนหลับ นั้นคือการปลูกสมอง
- การนอนหลับก็เหมือนการรอปูนให้แห้งก่อนวางอิฐก่อนใหม่ลงไป วิธีนี้จะทำให้ได้ผนังความรู้ที่แข็งแรง ทนทาน มากกว่าการที่ยัดความรู้ในทีเดียว สุดท้ายผนังก้จะถล่ม
- การหยุดพักเพื่อทบทวน เป็นวิธีการที่ดีในการเรียนรู้ ลองทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ผ่านการเล่าให้คนอื่นฟัง เทคนิคนี้ชื่อว่า เทคนิคไฟยน์แมน
- ยิ่งเรียนรู้มาก ข้อต่อสมองก็แข็งแรงมาก แต่ถ้าไม่หยุดทบทวน อาจจะต้องเริ่มต้นใหม่ เพราะเดนดริกสไปน์ที่ไม่ได้ใช้ จะโดนกำจัด
Chapter 7 กระเป๋านักเรียน ตู้ล็อคเกอร์ และปลาหมึก
- ความทรงจำมี 2 แบบ ควาทจำที่กำลังใช้งาน กับ ความทรงจำระยะยาว
- ความทรงจำที่กำลังใช้งาน เปรียบเหมือนกระเป๋านักเรียน ที่มีปลาหมึกอยู่ข้างใน (กลีบสมองส่วนหน้า เหนือลูกตา) มันเล็ก แต่เบาพกพาง่าย หยิบใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ปลาหมึกข้างในมีหนวดยื่นออกมาปกติ 4 หนวด บ้างก้ 3 บ้างก้ 6 คอยหยิบจับสิ่งต่างๆ บางครั้งก้หยิบจับแน่น บางครั้งก้ลื่นปล่อยสิ่งต่างๆหลุดไป
- ปกติหนวดจะจับสิ่งต่างๆได้ประมาณ 10 -15 วินาที เว้นแต่จะเพ่งสมาธิให้นานขึ้น ปลาหมึกพวกนี้จะกระฉับกระเฉงตอนที่เพ่งสมาธิ และจะง่วงเมื่อเข้าโหมดพักผ่อน ในโหมดพักผ่อน หนวดปลาหมึกจะคว้าจับข้อต่อสมองไปเรื่อยๆแบบสุ่ม ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
- ส่วนความทรงจำระยะยาว (อยู่เป็นจุด กระจายทั่วสมอง) เปรียบเหมือนตู้ล็อกเกอร์มัน กว้าง ใหญ่ และจุ ข้อเสียคือ มันหนัก ไกลต้องเดินไปเอา และบางครั้งก้หาของไม่เจอ
Chapter 8 กลเม็ดเคล็ดลับสร้างความจำ
- ความทรงจำระยะยาวแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ข้อเท็จจริงนามธรรม และ รูปภาพ ซึ่งเก็บใน หลอดยาสีฟันในล็อคเกอร์ และ ตัวล็อคเกอร์เอง ตามลำดับ
- ข้อเท็จจริงนามธรรม นั้นเก็บในหลอดยาสีฟัน มันทั้งเล็ก ใส่ และ นำออกยาก กลับกัน รูปภาพนั้นแค่แปะไว้ที่ผนังก็จบ
- มนุษย์เรานั้นสามารถจดจำรูปภาพได้ดีกว่า ข้อเท็จจริง เนื่องจากสมัยก่อนเราต้องจดจำที่อยู่อาศัยของเราว่าอยู่ตรงไหนมมากกว่าการจำชื่อประเภทหิน เราเรียกสิ่งนี้ว่า ความทรงจำเชิงพื้นที่และระยะทาง
- แม้แต่คนที่ความจำไม่ดี ก็สามารถกลายเป็นคนที่มีความจำเป็นเลิศได้ ถ้าเข้าใจกระบวนการจำ
- เทคนิคฝึกฝนความจำ 5 วิธี
- ตั้งใจ จดจ่อ - สำคัญมาก เราต้องกระตุ้นตัวเองว่า สิ่งต่อไปนี้นั้นสำคัญ
- ฝึกฝน - ไม่มีการเรียนรู้ใด ที่เก่งได้โดยปราศจากการฝึกฝน
- จดจำเป็นรูปภาพ - เราจดจำรูปภาพได้ดีกว่า
- นำภาพ มาเชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้อยู่แล้ว - ทำให้ง่ายต่อการเอาข้อมูลเข้าสู่สมอง
- ทบทวน - 4 ขั้นตอนแรกช่วยเอาความรู้เข้าสมองได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนนี้คือการที่เราจะจำมันได้จริงๆ
- เทคนิควังความทรงจำ
- นึกถึงสถาณที่ ที่คุ้นเคย เช่นบ้าน ห้องของตัวเอง โรงเรียน
- วางสิ่งที่ต้องจำไว้ในสถาณที่นั้นๆ
- เราสามารถมีวังความทรงจำได้หลายวัง ตามจำนวนเรื่องที่ต้องการจำ
- เทคนิคช่วยจำ
- แต่งเพลง
- อุปมา อุปมัย - ง่ายต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่เชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้อยู่แล้ว
- คิดว่าตัวเองเป็นสิ่งนั้น
- จดบันทึก
- ฝึกเล่าให้คนอื่นฟัง
- การจดจำเป็นรูปภาพ จะดีมากขึ้นถ้า ภาพนั้นเคลื่อนไหว หรือ แปลกประหลาด ยิ่งภาพนั้นเว่อร์เท่าไหร่ ยิ่งจำได้ดี
Chapter 9 ข้อต่อสมองกับการถอยรถไม่ให้ตกคลอง
- การเรียนรู้ครั้งแรกนั้นยากเสมอ แต่พอข้อต่อสมองเราแข็งแรง เราสามารถทำมันได้โดยไม่ต้องใช้สมาธิมาก
- ปลาหมึกในกระเป๋านักเรียนจะใช้หนวดของมันเอื้อมผ่านสมองเข้าไปในล็อดเกอร์ เพื่อคว้าจับข้อต่อสมองในนั้น ตอนนี้เราได้ทำการเชื่อมต่อความทรงจำระยะยาวไปที่ความจำที่กำลังใช้งานแล้ว
- คนที่ฉลาดนั้นล้วนมีข้อต่อสมองที่แข็งแรงมาก หมายความว่าปลาหมึกสามารถคว้าจับข้อต่อสมองเดียวที่ร้อยเรียงยาวเหยียด ด้วยการใช้หนวดเพียงหนวดเดียวเท่านั้น ทำให้ยังเหลือหนวดที่ว่างอยู่ไว้เกี่ยวข้อต่อสมองอันอื่น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนถึงสามารถใช้ความคิดที่ซับซ้อนได้
- สมองเราไม่เหมาะกับการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ปลาหมึกที่เสียสมาธิจากการหยิบข้อต่อสมองอย่างหนึ่งไปอีกอย่างหนึ่ง มันจะเหนื่อยล้าและไม่มีประสิทธิภาพ
- เวลาเราทำงานไป ฟังเพลงไป แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่เราจะเสียหนวดปลาหมึกหนึ่งหนวด ไปใช้ในการฟังเพลง
- การเรียนรู้ที่ถูกต้องคือการลงมือทำ อย่าเอาแต่ทำความเข้าใจในหัว เวลาไฟไหม้ เราอยากได้นักดับเพลิงที่เคยดูคนอื่นช่วย หรือ คนที่เคยช่วยคนจริงๆละ
Chapter 10 หาเพื่อนเรียนในชมรมและกลุ่มต่างๆ
- หาเพื่อนที่ชื่นชอบเหมือนคุณแล้วเรียนรู้ไปด้วยกัน
- ความรู้อย่างหนึ่งสามารถช่วยในการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งได้
Chapter 11 มาเพิ่มขนาดสมองของคุณกันเถอะ
- การเรียนรู้ที่แท้จริง มาจาก การลงมือทำ เท่านั้น จะเก่งได้ต้องฝึกให้มากพอ
- เราสามารถเอาดีได้หลายเรื่อง เพราะเราสามารถต่อยอดความรู้จากความรู้ที่มีอยู่แล้วได้
- การออกกำลังกายมีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก
- เพิ่มสาร BDNF ซึ่งเป็นอาหารของสมอง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท
- เพิ่มฮอร์โมนโดพามิน
- วันหลังถ้าการเรียนติดขัด ลองออกไปวิ่งดู
- กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารปลอม จำพวกอาหารแปรรูป
- เรียนรู้จากสื่อออนไลน์
ตอนนี้เอาไว้เท่านี้ก่อน ไว้จะมาสรุปเพิ่มนะครับผม...